นกหวีดไม้รวก











นกหวีดไม้รวก เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่ทำจากไม้รวกและไม้ไผ่ ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้


วัสดุที่ใช้1. ไม้รวกขนาดเล็กเส้นผ้าศูนย์กลางประมาณ 1.3 ซม. 1 ปล้อง
2. ไม้รวกอีก 1 ปล้องที่สามารถสอดอัดแน่นเข้าไปภายในไม้รวกปล้องแรกได้ พอดี
3. ไม้ฉำฉาหรือไม้ลัง
4. ไม้ไผ่



วิธีทำ
การเตรียมส่วนที่เป็นกระบอก1. นำไม้รวกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.3 ซม. มาตัดให้ได้ความยาวประมาณ 15-18 ซม.
2. เหลาไม้ฉำฉาหรือไม้ลัง ให้เป็นทรงกระบอกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่สามารถ สอดอัดแน่นเข้าไปในรูของไม้รวกในข้อ 1 แล้วใช้มีดตัดให้ได้ความยาวประมาณ 2 ซม. จากนั้นใช้มีดเฉือนตามความยาวเอาไม้ออกไป 1 เสี้ยว ซึ่งจะทำให้ไม้ลังทรงกระบอกส่วนหนึ่งไม่มีส่วนโค้ง
3. สอดไม้ลังทรงกระบอกในข้อ 2 อัดแน่นเข้าไปที่ปลายด้านหนึ่งของไม้รวกใน ข้อ 1 จนมิด ซึ่งจะทำให้เมื่อมองที่ปลายด้านนี้ จะเห็นว่ารูไม้รวกตอนนี้เหลืออยู่เล็กน้อย คือส่วนที่เป็นด้านเรียบของไม้ลังทรงกระบอก และส่วนโค้งของไม้รวก
4. ที่ผนังกระบอกไม้รวกด้านตรงข้ามกับส่วนเรียบของไม้ลังทรงกระบอกตรงบริเวณห่างจากปลายกระบอกประมาณ 2 ซม. ให้ใช้มีดเฉือนตามขวางในลักษณะเฉียงไปสุดปลายกระบอกไม้รวกเสร็จแล้วให้ใช้มีดเฉือนตัดกระบอกไม้รวกลงไปตรงๆ ห่างจากปลาย 0.5 ซม. ทำให้ปลายไม้รวกส่วนนี้ไม่แหลม

การเตรียมส่วนที่เป็นลิ้น
1. ตัดไม้ไผ่ให้ได้ความยาวมากกว่ากระบอกไม้รวกประมาณ 10 ซม. แล้วเหลาให้ได้ขนาดใหญ่กว่าก้านธูปทั่วไปเล็กน้อย เรียกส่วนนี้ว่าแกนไม้ไผ่
2. เหลาไม่ฉำฉาหรือไม้ลังเป็นแท่งทรงกระบอกยาว 1 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 8 มม. จากนั้นเจาะรูที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วนำแกนไม้ไผ่มาเสียบลงในรูติดให้แน่น

การประกอบ1. นำแกนไม้ไผ่ที่มีไม้ลังทรงกระบอกติดอยู่ปลายสอดเข้าไปที่ปลายด้านกลวงของกระบอกไม้รวก โดยปลายแกนไม้ไผ่โผล่พ้นกระบอกไม้รวกออกมาประมาณ 10 ซม.
2. นำปล้องไม้รวกอีกปล้อง (ในข้อ 2 ของหัวข้อวัสดุที่ใช้) มาตัดให้ได้ความยาวประมาณ 1 ซม. จากนั้นนำไปสวมแกนไม้ไผ่ แล้วสอดเข้าไปในกระบอกไม้รวกให้สนิทและเรียบเสมอกัน

วิธีเล่น1. มือด้านหนึ่งจับไม้รวก อีกมือหนึ่งจับก้านไม้ไผ่
2. ใช้ปากเป่าไม้รวก ส่วนมือที่จับก้านไม้ไผ่ ก็ขยับดึงเข้าดึงออก จะได้ระดับ เสียงที่แตกต่างกัน


"ของเล่นพื้นบ้านของไทย"

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือของ พิพิธภัณฑ์เล่นได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กังหันกระดาษ (Turbine paper) - เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในหลักกลศาสตร์

กำหมุน